ว่าด้วยเรื่อง ซ็อรฟฺ (ظرف الزمان وظرف المكان)

ซ็อรฟุน อัซซะมาน   (ظرف الزمان)คือ คำนามมันศูบ (อ่านสระท้ายด้วยฟัตหะฮฺ) ที่ทำหน้าที่บ่งบอกเวลาการเกิดของคำกริยา หรือเข้าใจกันง่ายๆ ว่า คำนามที่ทำหน้าที่บอกเวลาการกระทำของคำกริยาในประโยคนั่นเอง

*คำนามซ็อรฟุน อัซซะมาน  ได้แก่  صباحا، عصرًا، ليلا، مساءً، صَيفًا، شِتَاءً، ساعةً، سنةً وآلخ

ตัวอย่างประโยค เช่น 

صَبَاحًا  :  أذهبُ إلى المدرسة صباحًا   ฉันไปโรงเรียนตอนเช้า
عَصْرًا  : أَبِي يَعُودُ مِنَ العَمَلِ عصرًا    พ่อของฉันกลับจากการทำงานตอนเย็น
لَيْلًا :  أُشَاهِدُ بَرْنَامِجَ الطِّفْلِ لَيْلًا         ฉันชมรายการเด็กช่วงกลางคืน
                                                                      
ซ็อรฟุน อัลมะกาน  (ظرف المكان)คือคำนามมันศูบ ที่ทำหน้าที่บ่งบอก หรือมาอธิบาย หรือขยายความสถานที่เกิดของคำนามในประโยค 

*คำนามซ็อรฟุน อัลมะกาน  ได้แก่   تَحْتَ، فَوقَ، أمامَ، خَلفَ، بَينَ، يمِينا، يسارَ، شمال، جنوب  وألخ

ตัวอย่างประโยค เช่น 
وقفَ العُصفُورُ فوقَ الشجرةِ   นกตัวนั้นหยุดเกาะบนต้นไม้
وَقَفَ المُعَلِّم بين التَّلامِيذِ  ครูได้หยุดอยู่ท่ามกลางนักเรียน


หลังจากที่ได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องทั้งสองแล้ว อยากให้ทุกท่านมาพิจารณาแยกแยะว่า ในเรื่องที่ยกมาให้ดูเป็นตัวอย่างคำนามตัวใดบ้างที่ถูกจัดว่าเป็นซ็อรฟุน อัซซะมาน  ซ็อรฟุน อัซซะมาน  หรือ ซ็อรฟุน อัลมะกาน

استيقظ الولد صباحا  وذهب إلى المدرسة  ووقف إمام العلم  وعاد إلى المنزل ظهرًا  ووضعَ الحقيبة 
فوق المنضدةِ
วิดีโอประกอบบทเรียน : 



แสดงความคิดเห็น (0)
ใหม่กว่า เก่ากว่า