รูปแบบประโยคในภาษาอาหรับ

รูปแบบประโยคในภาษาอาหรับ

คุณอาจจะเคยเห็นประโยคในภาษาอาหรับที่แปลกจากภาษาอื่นอย่างหนึ่ง ก็คือ  ประโยคส่วนใหญ่มักเริ่มต้นด้วยคำกริยาก่อน ตามด้วยประธาน และกรรมตามลำดับ  นี่คือโครงสร้างประโยคอย่างง่ายในภาษาอาหรับ  แต่จริงๆ แล้วประโยคในภาษาอาหรับมีรูปแบบประโยคที่ตายตัว ซึ่งอาจจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ดังนี้
  1. ประโยคที่เริ่มต้นด้วยคำกริยา  (جملة فعلية) 
  2. ประโยคที่เริ่มต้นด้วยกับคำนาม  (جملة اسمية)


1.  ประโยคที่เริ่มต้นด้วยคำกริยา  (جملة فعليةคือรูปแบบประโยคที่เริ่มต้นด้วยกับคำกริยา  โดยส่วนใหญ่แล้วมักตามหลังด้วยประธานและกรรมของประโยค หรืออาจจะมีส่วนขยายอื่นๆ ตามมา   ตัวอย่างประโยคประเภทนี้ เช่น
كَتَبَ الوَلَدُ الوَاجِبَ      

ประโยคดังกล่าว หากแปลกันตามตัว  ก็จะแปลกันได้ว่า  “ได้เขียนเด็กผู้ชายการบ้าน”  แต่อย่างที่บอกไปแล้วในตอนแรก ลักษณะพิเศษของประโยคในภาษาอาหรับ มักขึ้นต้นด้วยคำกริยา  ดังนั้นในการแปลประโยคลักษณะนี้ จะต้องแปลจากประธาน กริยา กรรม  อย่างเช่นการแปลประโยคในภาษาอื่นๆ  ดังนั้นแล้วประโยคข้างต้น จึงแปลได้ว่า  “เด็กผู้ชายได้เขียนการบ้านแล้ว” 

2.  ประโยคที่เริ่มต้นด้วยกับคำนาม  (جملة اسمية) คือรูปแบบประโยคที่เริ่มต้นด้วยกับคำนาม ซึ่งในภาษาอาหรับมักจะเห็นรูปแบบประโยคในลักษณะนี้น้อยกว่ารูปแบบแรก ส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ในรูปแบบประโยคสั้นๆ อย่างเช่นการอธิบายลักษณะนามของสิ่งต่างๆ  หรือไม่ก็ประโยคที่ว่าด้วยเรื่องของประธานและภาคแสดงของประธาน หรือมุบตะดะอฺ และคอบัรนั่นเอง  ตัวอย่างประโยคในรูปแบบนี้  ได้แก่
الطَّالبُ خَطُّهُ جَمِيلٌ 

ประโยคดังกล่าวแปลได้ว่า “นักศึกษาคนนั้นลายมือของเขาสวย” จะเห็นว่า ประโยคข้างต้นขึ้นต้นด้วยกับคำนาม  ประโยคในลักษณะนี้จะได้ว่าเป็นประโยคประธานและภาคแสดงของประธาน หรือมุบตะดะอฺ และคอบัร  และมีการแสดงความเป็นเจ้าของเข้ามาเกี่ยวข้อง รวมถึงเรื่องของการบอกลักษณะนามเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย  ประโยคดังกล่าวสามารถแปลงเขียนเป็นอีกรูปแบบหนึ่งได้ว่า    

خَطُّ الطَّالبِ جَميلٌ     ลายมือของนักศึกษาคนนี้สวย

ทั้งสองประโยคที่ได้ยกตัวอย่างไปแล้วนั้นมีความหมายไปในทางเดียวกัน  แต่ในเรื่องของไวยากรณ์นั้นมีลักษณะที่แตกต่างกันเล็กน้อยในเรื่องโครงสร้างประโยค 

นอกจากประโยคในลักษณะนี้แล้ว ยังมีตัวอย่างอื่นๆ ให้ท่านผู้อ่านได้พิจารณากัน  เช่น

الطالبُ يركبُ الحِصَانَ
المَدِيْنةُ كَبِيرَةٌ 
محمد وسيم
ابن أحمد وجهه كأبيه  


ดูวิดีโอเพิ่มเติมประกอบบทเรียน
แสดงความคิดเห็น (0)
ใหม่กว่า เก่ากว่า