เชื่อเหลือเกินว่าบทความนี้คงเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านที่กำลังเริ่มต้นฝึกพูดภาษาอาหรับและผู้ที่คิดจะกำลังเริ่มต้นคุยกับเจ้าของภาษาอย่างคนอาหรับ มาเริ่มต้นพูดภาษาอาหรับกับ 10 วลียอดนิยมของคนอาหรับที่ต้องรู้กันครับ
1- มัรหะบัน (مرحبًا) แปลว่า สวัสดี, ยินดีต้อนรับ
- เป็นถ้อยคำหรือวลีที่ชาวอาหรับใช้กันทักทายเมื่อยามพบกันหรือในกรณีต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง
กล่าวได้ว่า “มัรหะบัน” เป็นถ้อยคำที่สามารถใช้แทนคำกล่าว “อัสสะลามุอะลัยกุมฯ”
ได้ในบางกรณี กล่าวคือ
คนอาหรับจะใช้วลีในการทักทายบุคคลที่มาใช่มุสลิมนั่นเอง
- “มัรหะบัน” ใช้กล่าวในระหว่างการพบปะกันพร้อมกับการจับมือ ซึ่งเหมือนกับการทักทายด้วยการให้สลามนั่นเอง
2- อะฮฺลัน วะ สะฮฺลัน (أهلا وسهلا) แปลว่า สวัสดี, ยินดีต้อนรับ
- อะฮฺลัน วะ สะฮฺลัน เป็นอีกหนึ่งวลีที่นิยมใช้กันมากในหมู่คนอาหรับมีความหมายคล้ายคลึงกับ
“มัรหะบัน” มักจะใช้พูดทักทายหลังคำกล่าว “มัรหะบัน”
- คุณสามารถกล่าวคำว่า “ฮะลา” แทนคำว่า “อะฮฺลัน วะ สะฮฺลัน” ซึ่งเป็นคำกล่าวสั้นที่ใช้แทนกันได้
- เมื่อคุณได้ยินวลีดังกล่าวให้ตอบว่า “อะฮฺลัน วะ สะฮฺลัน”
- เมื่อคุณได้ยินวลีดังกล่าวให้ตอบว่า“มัรหะบัน”
3- กัยฟัลหาล ? (كيف الحال؟) แปลว่า สบายดีไหม?
- หลังจากการกล่าวถ้อยคำทักทาย (ตามข้อ 1,2 หรือกล่าวอัสสลามมุอะลัยกุมฯ) สำหรับวลีต่อไปที่ชาวอาหรับนิยมใช้ในการพบปะกันตามธรรมเนียมปฏิบัติ
นั่นก็คือ การกล่าววลี “กัยฟัลหาล ?”
เป็นการไถ่ถามสารทุกข์สุขดิบของคู่สนทนา
- หากได้ยินวลีข้างต้น คุณอาจจะกล่าวตอบว่า
“บิเคร” แปลว่า สบายดี หรือ “ตะมาม” แปลว่า ก็ดี, สบายดี
4- เลาสะมะหฺตา (لوسمحتَ) (ใช้พูดกับเพศชาย) เลาสะมะหฺตี (لوسمحتِ) (ใช้พูดกับเพศหญิง) แปลว่า ขออภัยค่ะ/ครับ,
ขอโทษค่ะ/ครับ, ขอความกรุณา...
- เป็นถ้อยคำที่เป็นมารยาทก่อนร้องขอหรือขอให้ช่วยสิ่งใดๆ
แก่บุคคลอื่น
ตัวอย่างเช่น
فنجان قهوة لو
سمحت อ่านว่า
ฟินญานไชยฺ เลาสะมะหฺตา แปลว่า ขอกาแฟสักถ้วยครับ/ค่ะ"
نظف غرفتك لو
سمحت อ่านว่า นัศศิฟ ฆุรฟะตัก เลาสะมะหฺตี แปลว่า
กรุณาทำความสะอาดห้องของคุณด้วยครับ/ค่ะ
5- ตะฟัฎฎอล (تفضل) แปลว่า เชิญเลยครับ/ค่ะ, ตามสบายเลยครับ/ค่ะ
- หากคุณใช้วลีนี้กับสุภาพสตรีให้พูดว่า “ตะฟัฎฎอลีย์” (تفضلي)
- ใช้พูดเมื่อคุณมอบของกับบุคคลอื่น เช่น มอบของขวัญให้เพื่อนหรือลูกค้าในโอกาสต่างๆ
- เรามักใช้วลีนี้ในกรณีเชิญแขกหรือบุคคลอื่นนั่งลง
6- ชุกรอน (شكرًا) แปลว่า ขอบคุณ, ขอบใจ (ใช้แล้วแต่บุคคลหรือวัยวุฒิ)
ใช้กล่าวขอบคุณ ส่วนในการกล่าวตอบให้กล่าวว่า
“อัฟวัน” แปลว่า ไม่เป็นไร หรือ “บิกุลลี สุรูร” แปลว่า ด้วยความยินดี
7- มับรูก (مبروك) แปลว่า ขอแสดงความยินดี,
ยินดีด้วย
ใช้กล่าวแสดงความยินดีในโอกาสดีๆ เช่น
กรณีได้เลื่อนตำแหน่งงาน, สำเร็จการศึกษา เป็นต้น
“มับรูก” มาจากคำเดิมที่ว่า “มูบาร็อก” (مبارك)
8- ตะชัรรอฟนา (تشرفنا) แปลว่า ยินดีที่ได้รู้จัก
ตะชัรรอฟนา เป็นถ้อยคำที่เป็นทางการมากใช้กล่าวหลังการแนะนำตัวของบุคคลใดบุคคลหนึ่งแก่เรา
9- อาสิฟ (آسف) แปลว่า
ขอโทษ, ขออภัย
- ใช้กล่าวขอโทษในกรณีที่เราทำผิดหรือเกิดข้อผิดพลาดต่อบุคคลอื่น
- กรณีที่เรากล่าวขอโทษสุภาพสตรีให้ใช้คำว่า “อาสิฟะฮฺ” (آسفة คำนามเพศหญิง)
ส่วนคำว่า “อาสิฟ” ใช้กับคำนามเพศชาย
- ห้ามใช้ถ้อยคำดังกล่าวในงานศพหรือในกรณีพบสิ่งไม่พึงประสงค์
ในกรณีข้างต้นชาวอาหรับใช้วลีอื่นแทน
10- - อิลาลลีกออ (إلى اللقاء) แปลว่า ค่อยเจอกันใหม่, เจอกัน
ใช้กล่าวกรณีจากลาหลังจากการพบเจอกันหรือเสร็จการสนทนา
แล้วคู่สนทนาก็ต้องกล่าวคำว่า
มะอัสสะลามะฮฺ (مع السلامة)
แปลว่า ขอให้โชคดี {fullWidth}