มารู้จักที่มาของคำว่า "รัฐประหาร"


มารู้จักที่มาของคำว่า "รัฐประหาร"
"คำว่า "รัฐประหาร" หรือ "อินกิลาบุน" ในภาษาอาหรับมีรากศัพท์เดิมมาจากคำว่า "กอลาบา"

คำว่า “กอละบา ยุกลิบู ก็อบบุน” (قلَبَ - يُقْلِبُ – قَلْبٌ เป็นคำกริยาแท้ 3 อักษรที่ต้องการกรรม (فعل الثلاثي) ซึ่งมีความหมายว่า พลิก, พลิกกลับ, หมุนกลับ, พลิกคว่ำ, คน, กวน, กลับหน้าเป็นหลัง, เปลี่ยน, สะท้อน, พลิกแพลง, กลับเอาข้างในออกข้างนอก โดยความหมายที่หลากหลายนี้มักใช้ในบริบทที่แตกต่างกัน เช่น

- يقلب الفلاحُ الأرضَ للزراعةِ เกษตรกรกำลังพลิกหน้าดินเพื่อการเพาะปลูก
- يقلب أبِي بين قناة الجزيرة و قناة بي بي سي พ่อกำลังเปลี่ยนช่องไปมาระหว่างอัลญะซีเราะฮฺ และบีบีซี
- قَلَبَ عَلِيُّ صَفْحَةَ الكِتَابِ อาลีได้พลิกหน้าหนังสือ

ส่วนคำว่า “อินกอละบา ยุนกอลิบุ อินกิลาบุน” (اِنْقَلَبَ – يَنْقَلِبُ - اِنْقِلَابٌ)เป็นกริยาเพิ่มที่ไม่ต้องการกรรม (فعل الثلاثي المزيد) จัดอยู่ในบท اِنْفَعَلَ โดยมีการเพิ่มอักษรเข้าไปในคำ 2 อักษรด้วยกัน คือ อะลิฟและนูน กรณีนี้ถือว่าเป็นกฎทางนิรุกศาสตร์ภาษาอาหรับ หรือกฎการผันคำกริยา (ศอร็อฟ) ซึ่งผลจาการเพิ่มอักษรเข้าไปในคำเดิม ทำให้เกิดความหมายใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

คำว่า اِنْقَلَبَ – يَنْقَلِبُ - اِنْقِلَابٌ จึงมีความหมายว่า ถูกพลิกคว่ำ, ถูกเปลี่ยน, ถูกรัฐประหาร, ถูกพลิกกลับ,พลิกคว่ำ (รถ), กลับไปสู่สภาพเดิม, หันกลับไปทำอย่างเดิม, ถูกถอดถอน, ถูกบังคับ ตัวอย่างประโยค เช่น

- وَقَعَ انْقِلابُ السَّيَّارَةِ في مُنْعَطَفِ الطَّريقِ รถยนต์เกิดการพลิกคว่ำบริเวณทางโค้ง
- اِنْقَلَبَتِ السَّيَّارَةُ รถยนต์ได้ (ถูกทำให้) พลิกคว่ำ
- اِنْقَلَبَ ضَحِكُهُ حُزْناً ความร่าเริงของเขาได้กลับกลายเป็นความเศร้า
- فَشِلَ الانْقِلابُ العَسْكَرِيُّ การรัฐประหารได้เกิดความล้มเหลว

ตัวอย่างการใช้คำ :

انقلاب عسكري بتايلند وقائد الجيش يطمئن العالم
เกิดรัฐประหาร!! ในไทย ผบ. เหล่าทัพยันเพื่อสร้างความสงบเรียบร้อย

أعلن قائد الجيش التايلندي ظهر اليوم الخميس عبر التلفزيون الاستيلاء على السلطة وشدد على أن ما جرى لن يؤثر على العلاقات الدولية لبلاده، وأشار إلى أن الانقلاب يهدف لاستعادة الاستقرار وتحقيق الإصلاح السياسي في البلاد.

ผู้บัญชาการทหารบกแถลงยึดอำนาจทางโทรทัศน์เมื่อวันพฤหัสฯ และเน้นย้ำถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศยังคงดำเนินต่อไปตามปกติอย่างที่เคยเป็นมา จะไม่ส่งผลใดๆต่อประเทศ และยังระบุถึงความจำเป็นในการเข้ามาควบคุม เพื่อให้ประเทศกลับสู่ภาวะปกติ เเละเพื่อเป็นการปฏิรูปการเมืองภายในประเทศ.



หมายเหตุ :

อินกิลาบุน (إنقلاب) ในทางการเมืองหมายถึง การก่อรัฐประหารโดยฝ่ายอำนาจทหาร ซึ่งนอกจากคำนี้แล้วเรามักคุ้นเคยกับคำว่า “เซาเราะฮฺ” (ثورة) แต่คำนี้จะมีความหมายว่า การปฏิวัติทางการเมืองโดยกลุ่มประชาชน ซึ่งแตกต่างจากคำว่า “อินกิบาบุน” ในความหมายและการนำไปใช้นั่นเองครับ
แสดงความคิดเห็น (0)
ใหม่กว่า เก่ากว่า