มัฟอุลุมบิฮฺ
(مفعول به) คือ
คำนามที่ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค ซึ่งในการอ่านสระท้ายคำนามที่ทำหน้าที่เป็นกรรมจะต้องอ่านด้วยสระฟัตหะฮฺ (มันศูบ) ในกรณีที่เป็นนามเอกพจน์และพหูพจน์แตกรูป อ่านสระท้ายแทนอักษรเป็นยาอฺในกรณีที่กรรมเป็นนามทวิพจน์
และพหูพจน์เพศชาย และอ่านสระท้ายด้วยสระกัสเราะฮฺในกรณีที่กรรมเป็นนามพหูพจน์เพศหญิง
ตัวอย่าง
1. กรรมจะต้องอ่านสระท้ายด้วยฟัตหะฮฺ
( َ ) ในกรณีที่เป็นนามเอกพจน์
(مفرد) และนามพหูพจน์แตกรูป
(جمع التكسير)
يَقْرَأُ التِّلْمِيْذُ الدَّرْسَ
นักเรียนคนนั้นกำลังอ่านบทเรียน
ในประโยคดังกล่าว
คำนามที่ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค
คือ
อัรดัรสา
(บทเรียน) ซึ่งจะต้องอ่านสระท้ายคำด้วยฟัตหะฮ
เพราะกรรมเป็นนามเอกพจน์
(مفرد)
هَزَمَ الجَيْشُ العَدُوَّ
ทหารคนนั้นได้เอาชนะศัตรู
ในประโยคข้างต้น
คำนามที่ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค
คือ
อัลอะดูวา
(ศัตรู) ซึ่งจะต้องอ่านสระท้ายคำด้วยฟัตหะฮ
เพราะเป็นนามเอกพจน์ (مفرد)
أَحْضَرَ المُعَلِّمُ الأَقْلامَ
คุณครูคนนั้นได้นำปากกามา
ในประโยคข้างต้น
คำนามที่ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค
คือ
อัลอักลามา
(ปากกา) ซึ่งจะต้องอ่านสระท้ายคำด้วยฟัตหะฮ
เพราะเป็นนามพหูพจน์แตกรูป
(جمع التكسير)
2. กรรมจะต้องอ่านสระท้ายแทนอักษรยาอฺ ( ي ) ในกรณีที่กรรมเป็นนามทวิพจน์(مثنَّى) และพหูพจน์เพศชาย (جمع المذكر
السالم)
اِصْطَادَ الرَّجُلُ طائِرَيْنِ
ผู้ชายคนนั้นจับนกได้สองตัว
ในประโยคข้างต้น
คำนามที่ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค
คือ
อัฏฏออิรอยนิ
(นกสองตัว) ซึ่งจะต้องอ่านสระท้ายแทนอักษรยาอฺ
(ي) เพราะเป็นนามทวิพจน์ (مثنَّى)
اِسْتِقْبَلَ رَئِيسُ الوُزَرَاءِ المُشْتَرِكِيْنَ
فِي المُؤْتَمَر
นายกรัฐมนตรีได้ต้อนรับบรรดาผู้เข้าร่วมการประชุม
ในประโยคข้างต้น
คำนามที่ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค
คือ
อัลมุชตะริกีนนา
(บรรดาผู้เข้าร่วม) ซึ่งจะต้องอ่านสระท้ายแทนอักษรยาอฺ
(ي) เพราะเป็นพหูพจน์เพศชาย
(جمع المذكر
السالم)