10 คำสแลงในภาษาอาหรับ ep1/4

สำหรับบทความนี้ผู้เขียนอยากนำ 10 คำสแลงภาษาอาหรับที่นิยมใช้เเล้วได้ยินกันอย่างแพร่หลายในแวดวงคนอาหรับหรือผู้พูดภาษาเองมานำเสนอผู้อ่านกันครับ ...


1. ยัลลา  (يلا) เป็นคำแสลงที่มีความหมายในเชิงเชิญชวนให้เข้ามาร่วมทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง อาจแปลได้ว่า "ไปกันเถอะ" หรือ "เชิญเข้ามา" ที่วัยรุ่นนิยมใช้กัน คนอาหรับเองก็มักใช้คำว่า "ยัลลา" ในการเชื้อเชิญทำกิจกรรมบางอย่าง เช่น การชวนให้เพื่อน (ผู้โดยสาร) ติดรถมาด้วย หรืออาจเชิญมาร่วมเต้นรำในงาน หรืออาจใช้ในการเชิญแขกเข้ามาในบ้านด้วยมารยาท เป็นต้น การใช้คำนี้จะทำให้คุณรู้สึกเหมือนกลมกลืนกับคนท้องถิ่นได้มากเลยทีเดียวครับ
2. ยัลลา ชะบ๊าบ (يلا شباب) เป็นคำนี้ถูกใช้บ่อยในหมู่คนอาหรับวัยรักสนุก เป็นคำสแลงที่มีความหมายประมาณว่า  "ไปต่อกันเถอะ วัยรุ่น!" เป็นคำที่ใช้พูดกันในหมู่วัยรุ่นหรือเพื่อนฝูงในวัยเดียวกัน เพื่อสร้างบรรยากาศในกลุ่มให้ดูครื้นเครง สนุกไปด้วยกัน
3. มาชาอัลลอฮฺ (ما شاء الله)  เป็นถ้อยคำที่ใช้เพื่อชื่นชมสิ่งสวยๆ งามๆ ที่ได้พบเห็น เช่น ชายคนหนึ่งได้พบรักกับหญิงสาวที่ปรารถนา เขาได้พูดชื่นชมนางในหมู่เพื่อนว่า "เธอช่างน่ารักและจิตใจงามเหลือเกิน มาชาอัลลอฮฺ" 
4. ยา ร็อบ (يارب) คำแสลงคำนี้มีความหมายตามตัวว่า "พระเจ้าของฉัน" หรือ Oh my God หรือ Dear God ในภาษาอังกฤษ มักใช้ในอารมณ์หงุดหงิด ตะขิดตะข่วนใจ อย่างเช่นในสถาการณ์ที่แม่บ่นใส่ลูกที่กำลังซนและไม่เชื่อฟังคำสั่งสอน เป็นต้น
5. คอลาศ (خلاص) เป็นแสลงเชิงขอร้อง มักได้ยินคนเฒ่าคนแก่ใช้คำดังกล่าวเพื่อออกคำสั่ง มีความหมายแฝงให้หยุด "ให้เสร็จ, พอๆ, จบ หรือหยุดพูด เป็นคำสั่งเมื่อคุณต้องการให้ใครสักคนหยุดจู้จี่จุกจิกกับคุณ
6. อินชาอัลเลาะห์ (إن شاء الله) เป็นคำแสลงในภาษาอาหรับที่รู้จักกันดี มักใช้กันบ่อยในวงสนทนา คำดังกล่าวแปลตามตัวได้ว่า "หากพระเจ้าเป็นใจ หรือ หากพระเจ้าทรงพระประสงค์" แต่คนส่วนใหญ่จะใช้คำดังกล่าวในบริบทความหมาย "อาจจะ" หรือ "อาจเป็นไปได้" คุณสามารถใช้คำดังกล่าวในการตอบรับคำเชิญให้เข้าร่วมนัดหมายอะไรสักอย่าง ซึ่งคุณอาจไม่แน่ใจว่าสามารถเข้าร่วมได้หรือไม่ โดยใช้คำว่า "อินชาอัลเลาะห์" ตบท้ายด้วยมารยาท (เป็นคำตอบปลายปิด) แต่ไม่ควรใช้คำดังกล่าวแบบพร่ำพรื่อนะครับ
7. วัลเลาะห์ (والله) คำนี้มีความหมายตามตัวว่า "ขอสาบานต่อพระเจ้า" บ่อยครั้งที่คำนี้มักปรากฏกับเพื่อนหรือบุคคลในครอบครัว คุณสามารถใช้คำดังกล่าวในส่วนใดของประโยคคำพูดก็ได้ เพื่อยืนยันคำพูดของคุณ เป็นคำแสลงที่ใช้ยืนยันคำพูดเพื่อให้อีกฝ่ายเกิดความเชื่อในสิ่งที่คุณพูดนั่นเอง
8. อะกีด (أكيد)  มักใช้ยืนยันคำพูด แปลได้ว่า "แน่นอน" หรือ "ใช่ แน่นอน" เป็นคำที่นิยมใช้พูดกับคนที่มีอายุน้อยกว่า โดยปกติเเล้วคำว่า "อะกีด" มักใช้ตอนท้ายประโยคหรือเป็นคำตอบ ซึ่งคำดังกล่าวมีความหมายแฝงไปด้วยการผูกมิตร เพื่อสร้างความสนิทสนม
9. ยา ร็อยยาล  (يا ريال) แปลว่า "โอ้ (นี่) นาย" คำนี้มักใช้ในกลุ่มวัยรุ่นอาหรับเพื่อแสดงความไม่พอใจเบาๆ ในเกมการแข่งขัน ตัวอย่างเช่น  นาย ก. แพ้เกม Rov ให้แก่นาย ข. แล้วนาย ก. ก็พูดคำว่า ยา ร็อยยาน ออกมาเพื่อแสดงความไม่พอใจ หรือในสถานการณ์เชียร์บอลแพ้ฝ่ายตรงข้ามก็สามารถใช้คำดังกล่าวได้ด้วยเช่นกัน
10. ยา หะรอม (يا حرام)  แปลตามตัวได้ว่า "โอ้ ผิดไปเเล้ว, พลาดไปเเล้ว" คำนี้มักใช้เพื่อให้เกิดความเห็นใจ ใช้เป็นคำแสดงความโศกเศร้าและน่าสงสาร ซึ่งคนอาหรับมักใช้เแสดงรู้สึกเสียใจสำหรับใครบางคนหรือบางสิ่งบางอย่าง ในอีกบริบทหนึ่งอาจเป็นคำที่ใช้ห้ามปรามไม่ให้กระทำผิด ในความหมายที่ว่า "โอ้ มันผิดบบาปนะ" อย่าได้กระทำ 



ใหม่กว่า เก่ากว่า