ภาษาอาหรับกับความจริงข้อหนึ่งที่ต้องทราบ


ซึ่งในบางครั้งการสื่อสารด้วยภาษากลางอาจถูกมองเป็นเรื่องแปลกในมุมมองของเจ้าของภาษา บางครั้งอาจจะกลายเป็นเรื่องตลกสำหรับเจ้าของภาษาไปเลยก็มี ดังนั้นการเรียนรู้ภาษาถิ่นอาหรับจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดสำหรับผู้เรียนรู้ภาษาอาหรับเพื่อการประกอบอาชีพในแขนงต่างๆ อาทิเช่น สถานพยาบาล การบริการและการโรงแรม การท่องเที่ยว และการค้าปลีก เป็นต้น

สำหรับในประเทศไทยภาษาถิ่นอาหรับที่มีความสำคัญในแวดวงธุรกิจการแพทย์ การท่องเที่ยว การบริการและการโรงแรม รวมถึงการค้าปลีกนั้น โดยส่วนตัวคิดว่าภาษาถิ่นคอลีจญ์ (ภาษาถิ่นแถบอ่าวอาหรับ) นั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากในสายงานอาชีพในบ้านเรา เพราะหากพิจารณาจากจำนวนนักท่องอาหรับที่เดินทางเข้ามาไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้นในทุกปี ส่วนใหญ่ล้วนแล้วมาจากกลุ่มนักเที่ยวอาหรับในกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ (GCC : Gulf Cooperation Council) ซึ่งประกอบด้วย 6 ประเทศ ได้แก่ บาห์เรน คูเวต โอมาน กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

หากพูดถึงภาษาคอลีจญ์หรือภาษาถิ่นอาหรับแถบอ่าว จะมีลักษณะจำเพาะได้อีกตามชนชาติหรือกลุ่มคนในประเทศนั้นๆ ซึ่งมีความแตกต่างอยู่บ้างในเรื่องของสำเนียง คำศัพท์ การออกเสียงคำ รวมถึงหลักไวยากรณ์ เช่น ชาวเอมิเรตส์ ใช้คำว่า شو (อ่าน ชู) แปลว่า อะไร / ชาวคูเวต จะใช้คำว่า شنو (อ่านว่า ชุนูวฺ)/ ชาวซาอุดี้และกาตาร์ใช้คำว่า ايش (อ่านว่า เอช) ส่วนบาห์เรน ใช้คำว่า شنهو (อ่านว่า ชินเฮา) เป็นต้น

การเริ่มต้นเรียนรู้ภาษาอาหรับควรเริ่มต้นจากภาษาอาหรับมาตรฐานหรือภาษาอาหรับกลาง (Standard Arabic Language) ซึ่งเป็นวิธีการสำคัญที่สามารถทำให้ผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ภาษาถิ่นอาหรับเพิ่มเติม เพื่อการสื่อสารในอาชีพ ส่วนการสื่อสารในแวดวงการศึกษานั้น มักมุ่งเน้นการใช้ภาษาอาหรับกลางในการสื่อสารอยู่แล้ว

อีกข้อสังเกตอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการใช้ภาษาอาหรับในสื่อสารมวลชน โดยทั่วไปมักนิยมใช้ภาษาอาหรับกลางในการสื่อสาร เพื่อง่ายต่อความเข้าใจ อย่างเช่น สื่อโทรทัศน์ สื่อโฆษณาต่างๆ ตลอดถึงสื่อวิทยุ เป็นต้น ดังนั้นการเขียนสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ จึงนิยมใช้ภาษากลางในการสื่อสาร ส่วนในการสื่อสารประจำวันนั้นนิยมใช้ภาษาพูดแบบไม่เป็นทางการ นั่นก็คือ การสื่อสารด้วยภาษาถิ่นอาหรับนั้นเองครับ

อาจจะสรุปได้ว่า การเรียนรู้ภาษาสำหรับผู้ที่ไม่ใช่เป็นเจ้าของภาษา (Non native speakers)นั้นควรเริ่มต้นเรียนรู้ภาษาจากภาษากลางมาตรฐานของภาษานั้นๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ภาษาถิ่นสำเนียงอื่นๆ เพิ่มเติมในภายหลังหรือควบคู่กันไป เพราะภาษาถิ่นอาหรับนั้นมีความสำคัญต่ออาชีพอย่างมาก อย่างที่ทราบไปแล้วว่าชาวอาหรับส่วนใหญ่มักพูดสื่อสารด้วยภาษาถิ่นอาหรับในชีวิตประจำวันมากกว่าการพูดสื่อสารด้วยภาษาอาหรับกลางมาตรฐานนั่นเอง 


About Author :

สุรัตน์ สุดดำ (อิมรอน) |  นักเขียน/บรรณาธิการ
บล็อกสนทนาประสาอาหรับ พื้นที่ความคิด 
มุ่งเน้นการเรียนรู้ภาษาอาหรับอย่างสร้างสรรค์
Follow him @ | Instragram  {fullWidth}

ใหม่กว่า เก่ากว่า