ข้อพึงรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมลูกค้าอาหรับขาช้อปในไทย


พึงทราบไว้เถอะครับว่า ชาวเปอร์เซีย อินเดีย ปากีสถาน เติร์กตุรกี และอาหรับ มีความเหมือนอยู่บ้างก็จริง  ในรูปร่างและลักษณะหน้าตา (ดูผิวเผินแยกกันแทบไม่ออก) ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสีผิว หนวดเครา จมูกดั้งโด่ง ตาคม หน้าสวยหล่อกันโดยส่วนมาก แต่ก็ยังมีความต่างกันอยู่บ้าง ในเรื่องกลิ่นตัว อาหรับโดยส่วนใหญ่กลิ่นตัวหอม ส่วนชาติอื่นที่ว่ามานอกเหนือจากอาหรับส่วนใหญ่นั้น กลิ่นไม่สู้ดี (อาหรับกลิ่นหอม เพราะการพรมน้ำหอมเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของชนชาตินี่ไปละครับ) โดยเฉพาะอินเดียบางคน กลิ่นเป็นอันเม่นต้องเรียกทวด แต่ถึงกระนั้นสิ่งที่เห็นได้ชัดในความต่าง นั่นคือ ในเรื่องภาษาที่มีความต่างกันโดยสิ้นเชิง อาหรับใช้ภาษาอาหรับ อินเดียและปากีสถานใช้ภาษาอุรดู แต่อิหร่านใช้ภาษาเปอร์เซีย ส่วนตุรกีใช่ภาษาตุรกีในการสื่อสารนะครับ


อาหรับเป็นกลุ่มลูกค้าขาช้อปชั้นดี อาจกล่าวได้ว่า ซื้อง่าย จ่ายคล่อง ช้อปหนัก ช้อปแหลก และต้องการการบริการแบบแอ็กคลูซีฟ ลูกค้ากลุ่มนี้ส่วนใหญ่ต้องการการบริการแบบเอาอกเอาใจ และคอยอำนวยความสะดวกอยู่มิห่าง ซึ่งอาหรับมีวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่ไม่เหมือนชาติอื่น หากคุณบริการดี ประทับใจ มีทิปให้อย่างน้อยๆ ก็ร้อยนึงแหละนะ ยิ่งบริการแบบถูกใจตามติดด้วยแล้ว อาจมีแบงค์ม่วง แบงค์เทาให้กันเลยทีเดียว แต่ทั้งนี้ต้องประเมินพฤติกรรมลูกค้าด้วยนะครับ ว่าเค้าต้องการความเป็นส่วนตัวในระดับไหน

• ลูกค้าอาหรับมักมาช้อปกันเป็นครอบครัว มีผู้ติดตาม คนรับใช้ บางคนมีล่ามส่วนตัวติดตามมาด้วยกันเลยทีเดียวครับ

• ไม่แปลกเลยที่คุณจะเห็นลูกค้าอาหรับบางคน ยอมละหมาดตามมุมอับสายตา เห็นก้มๆ เงยๆ อย่าเข้าไปห้ามหรือไปสะกิดเค้านะครับ ให้เค้าทำกิจศาสนาให้เสร็จสรรพ แล้วค่อยเข้าไปบอกเค้าด้วยมารยาท (ถ้ามีห้องละหมาด ก็ควรบอกหรือแนะนำเค้าไปนะครับ) แต่พึงรู้ไว้ว่า - การละหมาดในเวลานั้นสำคัญสำหรับมุสลิม และสถานที่ๆ สะอาดทุกแห่งหนบนโลก สามารถทำการละหมาดได้หมดครั

• ลูกค้าอาหรับเป็นลูกค้าที่มีมารยาท สุภาพกว่าลูกค้าจีนแผ่นดินใหญ่ - อันนี้จริง แต่ไม่เสมอไป เพราะเรื่องแบบนี้มันอยู่ที่คน แต่ส่วนใหญ่ที่ได้ประสบพบเจอ ก็เป็นแบบที่ว่านี้ละครับ

• ลูกค้าอาหรับบางคนมักชอบจีบมือ หรือจิบปาก และมักพูดว่า Wait wait! หรือศอบัรๆ (แปรบๆ) เมื่อพนักงานเสนอสินค้าแบบรุกคืบ (เพราะรู้ละว่าลูกค้าอาหรับซื้อง่ายจ่ายคล่อง) เสนอการขายแบบจู่โจม นั่นแสดงว่าเค้ากำลังเกิดอารมณ์รำคาญ หรือไม่ก็กำลังต้องการการเวลาเลือกดูสินค้าด้วยตนเอง และต้องการความเป็นส่วนตัว วินาทีนั้นคุณอย่าคิดเสนอสรรพคุณสินค้าต่อนะครับ ได้โปรดหยุด! แล้วดูท่าทีลูกค้าไว้แบบห่างๆ

• ลูกค้าอาหรับมักไม่ยอมเซ็นต์หลังบัตรเครดิต ส่วนใหญ่มักอ้างว่าที่บ้านอาหรับของเค้าไม่เซ็นต์ก็สามารถชำระสินค้าได้ ก็เพราะบ้านเค้าปลอดภัย 
ไม่มีมิจฉาชีพทางการเงิน ไม่เหมือนเมืองไทยบ้านเรา และมีบางเคสที่มักนำเอาบัตรสามีมาใช้รูด  จึงไม่ยอมเซ็นต์ยอมรับความเป็นเจ้าของบัตร  ซึ่งในไทยเราบางห้างจะไม่รับบัตรของบุคคลอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของบัตรโดยแท้ 


• ลูกค้าอาหรับมักนิยมเดินทางมาไทย ก่อนและหลังช่วงเทศกาลถือศีลอด เพื่อมารับการตรวจสุขภาพหรือรักษาตัว รวมถึงมาจับจ่ายซื้อของและการท่องเที่ยว

• สินค้าขายดี ยอดนิยมสำหรับลูกค้าอาหรับสตรี นั่นคือ รองเท้า กระเป๋าหนังสัตว์ เครื่องประดับ น้ำหอม เครื่องสำอางค์ เสื้อผ้าไทยดีไซน์ และเสื้อผ้าเด็กเล็กครับ

• แบรนด์กระเป๋าหนังสัตว์ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก นั่นคือ แบรนด์หนังงู S'uvimol, Pittdar & Bhur, Vanee Lee, Opium etc.

• ลูกค้าอาหรับขาช้อปโดยส่วนใหญ่มักเปิดโรงแรมที่พักใกล้กับห้างสรรพสินค้า รถไฟฟ้า BTS และสกายวอค ที่ว่าใกล้สกายวอคนี่ ไม่ใช่เค้าพักกันใต้สะพานลอยนะครับ คือจะสื่อว่าอาหรับส่วนใหญ่ร่างถ้วม อ้วนจึงต้องการสถานที่ที่จะเดินทางไปไหนมาไหนได้สะดวกมากที่สุด ซึ่งโรงแรมยอดนิยมที่ลุกค้าอาหรับนิยมเปิดห้องพัก ได้แก่ อินเตอร์คอนติเนนทอล, สยาม แคมปิ้นสกี, แลนมาร์ค, แกรนด์ เซนเตอร์พ็อยท์ เป็นต้น

• ย่านอาหรับในกรุงเทพ จะอยู่ที่ซอยนานา ใกล้รถไฟฟ้าบีทีเอส (สถานีนานา) ที่นี่มีทุกอย่างจำหน่าย แม้กระทั่งอย่างที่ว่า - ผู้หญิงขายบริการ

• สถานที่ยอดนิยมที่อาหรับชอบไปเที่ยว นั่นคือ เกาะภูเก็ต ที่เค้ารู้จักกันอาจจะเป็นการบอกต่อปากต่อปากมั้งครับ ผมเคยได้ถามลุกค้าอาหรับส่วนมากที่มาช้อปว่า - เคยไปภูเก็ตไหม? อาหรับ 7 ใน 10 คนต่างบอกบอกว่าเคยไปมาแล้ว ละก็ติดใจด้วยนะ  เมืองไข่มุกอันดามัน สวรรค์แดนใต้

• อาหรับที่เดินทางมาเมืองไทยส่วนใหญ่มักเดินทางมาเป็นครอบครัว และชอบมาใช้บริการสถานพยาบาลชั้นนำในไทย และกิจกรรมสุดสเปเชียลที่ขาดไม่ได้ นั่นก็คือ การช้อปปิ้ง เพราะทุกอย่างที่บ้านเรามี ราคาถูกกว่าบ้านเค้า และมีระดับการบริการที่ดีกว่าเยอะ ส่วนคุณภาพสินค้านั้นไม่ต้องพูดถึงเลยครับ เยี่ยมยอด!

ปล. อ่านจบคอมเมนท์กันด้วยนะ - ขอบคุณครับ


About Author :

สุรัตน์ สุดดำ (อิมรอน) |  นักเขียน/บรรณาธิการ
บล็อกสนทนาประสาอาหรับ พื้นที่ความคิด 
มุ่งเน้นการเรียนรู้ภาษาอาหรับอย่างสร้างสรรค์
Follow him @ | Instragram  {fullWidth}


ใหม่กว่า เก่ากว่า