สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งในการเรียนภาษาอาหรับนั่นก็คือ
“การบ่งบอกสภาพคำทางไวยากรณ์ หรือการเอี๊ยะอฺรอบ” ในบทความนี้ผมจึงอยากแนะนำแนวทางเบื้องต้นในการศึกษาเรียนรู้เพื่อความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวโดยสังเขป
เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้อ่านได้ทราบถึงวิธีการและแนวทางในการศึกษาต่อยอดความรู้เกี่ยวกับไวยากรณ์อาหรับในระดับที่สูงขึ้น
การศึกษาไวยากรณ์ภาษาอาหรับอาจจะเป็นเรื่องที่ยากสำหรับใครหลายๆ
คน โดยเฉพาะเรื่อง “การบ่งบอกสภาพหรือหน้าที่ของคำทางไวยากรณ์ทั้งในรูปแบบคำเดี่ยวและในรูปแบบประโยค”
แต่หากว่าเราทราบถึงวิธีการและแนวทางในการศึกษาเรื่องดังกล่าวอย่างเป็นระบบแล้ว มันอาจจะกลายเป็นเรื่องง่ายสำหรับเราในการศึกษาไวยากรณ์ภาอาหรับอย่างแน่นอน
สำหรับวิธีการและแนวทางที่จะนำมาให้ความรู้นั้น ผมเชื่อเหลือเกินว่าบทความนี้จะทำให้ผู้อ่านมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับการบ่งบอกสภาพหรือหน้าที่ของคำในภาษาอาหรับรวมถึงการพิจาณารูปแบบของคำในประโยคได้อย่างถูกต้อง
สำหรับวิธีการและแนวทางในการบ่งบอกสภาพคำทางไวยากรณ์อาหรับประกอบด้วย
5 ข้อที่สำคัญ ได้แก่ …
1. ขั้นแรกคุณจะต้องสามารถระบุชนิดของคำได้ว่า “คำใดเป็นคำนาม
(อิสมุน), คำกริยา (เฟี๊ยะอฺลุน) และคำเชื่อม
(หัรฟุน)” อย่างที่ทราบดีอยู่แล้วว่าคำเชื่อมหรือหัรฟุนนั้นจะไม่มีการบ่งบอกสภาพคำทางไวยากรณ์ แต่สำหรับคำกริยาต่างๆ
นั้นสามารถบ่งบอกสภาพของคำได้ว่า “คำๆ นั้นอยู่ในกริยาอดีต ปัจจุบันหรืออนาคต หรือเป็นกริยาคำสั่ง”
นี่เป็นวิธีการเบื้องต้นที่เราจะต้องทราบก่อนเป็นอันดับแรก ส่วนเรื่องคำนามนั้นจะเกี่ยวข้องกับการบ่งบอกสภาพของคำทางไวยากรณ์ในหลายๆ
เรื่อง กล่าวคือ “ในบริบทของประโยคนั้นคำนามสามารถเป็นประธาน (ฟาอิล), ภาคประธานและภาคแสดงของประโยค
(อัลมุบตะดะหฺ วัลคอบัร), การบ่งบอกความเป็นเจ้าของ (มุฎอฟ วะ มุฎอฟุ อิลัยฮฺ), กรรม
(มัฟอูลุมบิฮฺ), คำขยาย (อัลหาล) และอื่นๆ
كلمة
คำ
|
||
حَرْف
คำเชื่อม
|
فِعْل
คำกริยา
|
اِسْم
คำนาม
|
2. ต้องระบุประเภทของประโยคได้ว่าประโยคใดเป็นประโยคที่เริ่มต้นด้วยคำคำนาม
(ญุมละฮฺ อิสมียะฮฺ) หรือเริ่มต้นด้วยคำกริยา (ญุมละฮฺ เฟี๊ยะลียะฮฺ) ในขั้นนี้หากเราสามารถแบ่งประเภทของประโยคได้แล้ว
จะทำให้การเรียนไวยากรณ์อาหรับของเราง่ายขึ้น
ส่วนวิธีการพิจารณานั้นให้เราพิจารณาบริบทของประโยคโดยรวม อย่าเพียงแค่พิจารณาเพียงคำใดคำหนึ่งในประโยคที่เราต้องการบ่งบอกสภาพทางไวยากรณ์
เพราะอาจเกิดความผิดพลาดได้นั่นเองครับ
วิธีการพิจาณาประโยคเบื้องต้น
- หากประโยคเริ่มต้นด้วยมุบตะดะอฺ
หลังมันต้องเป็นคอบัร แต่มันไม่ได้เป็นเงื่อนไขตายตัว
เพราะบางทีคอบัรอาจจะขึ้นต้นก่อนมุบตะดะอฺก็เป็นได้ ซึ่งเราสามารถศึกษาได้ในรายละเอียดที่สูงขึ้นต่อไป
แต่ประโยคในลักษณะนี้โดยส่วนใหญ่ขึ้นต้นด้วยมุบตะดะอฺ
- หากประโยคเริ่มต้นด้วยคำกริยา
มักจะตามด้วยประธานหรือฟาอิล
- หากประโยคเริ่มต้นด้วยนาสิค มักตามหลังด้วยคำนาม
หรือไม่ก็คอบัร จะไม่ตามด้วยฟาอิลหรือประธานอย่างแน่นอน
جملة
ประโยค
|
|
فعليّة
ประโยคที่เริ่มต้นด้วยคำกริยา (verbal)
|
اسميّة
ประโยคที่เริ่มต้นด้วยคำนาม (nominal)
|
- รูปแบบประโยคของคำนามที่เริ่มต้นด้วยคำนาม (الجملة الإسمية)
1ـ إسم [مُبتدأ] + إسم [خَبَر]:
ـ محمّدٌ طالبٌ./ القائدُ شُجاعٌ./ هذا أخي./ الأستاذُ ذاهِبٌ إلى بغدادَ./ بغدادُ ذاهِبٌ إليها الأستاذُ./ بغدادُ ذُهِبَ إليها./ بغدادُ مذهوبٌ إليها.
2ـ [أداة] + إسم (إسم لأداة) + إسم [خبرها]:
كانَ اللهُ غفوراً رحيماً./ إنّ اللهَ غفورٌ رحيمٌ./ عسى اللهُ أنْ يغفرَ./ كادَ النّهرُ ينقضي./ ليس (ما) الطّالبُ مجتهداً./ لا إلهَ إلاّ الله.
3ـ إسم (مُضَاف) +إسم )مُضَاف إليه(:
ـ رَجُلٌ جميلُ الأخلاقِ./ هذا كِتابُ الأستاذِ./ بابُ بيتٍ./ خاتمُ فِضّةٍ.
4ـ إسم (مَوصُوف) + إسم )صِفَة(:
ـ جاءتْ المَرأةُ الجَميلةُ./ هذا تِلمِيذٌ نشيطٌ./ رَأيتُ المَرأةَ الجَميلةَ.
5 ـ عَطف: ـ المَعطُوف + أدَاةُ عَطف + العَطف :
جَاءَ سَليمٌ وسَعِيدٌ./ رَأيتُ المُعلّمَ والرّئيسَ.
- รูปแบบประโยคของคำนามที่เริ่มต้นด้วยคำกริยา (الجملة الفعلية)
1ـ فِعْلٌ + [فَاعِلٌ]:
ذهبَ الأستاذُ إلى بغدادَ./ إلى بغدادَ ذهبَ الأستاذُ./ ذهبَ إلى بغدادَ الأستاذُ./ كَفىبالله شهيداً./ ما جَاءَنا من بشير./ يَسرّني أنْ تنجحَ./ نعمَ العبدُ أيوّبُ./ بِئس الطّالبأحمدُ.
ـ فِعْلٌ (مَجهُول) + [نَائِب فَاعِلٌ]:
فُتحَ البابُ./ كُسي الفقيرُ ثوباً./ سُلّمَ على أحمدَ.
2ـ [أدَاةٌ] + فِعْلٌ + فَاعِلٌ :
إنْ تجتهدْ تنجحْ./مَنْ يطلب يجِدْ./ لمْ يَقُمْ أحمدُ./لا تكذِبْ./ لن يُفلحَ الكاذبونَ./ حتى يأتيَ أخي.
3ـ فِعْلٌ + فَاعِلٌ+ [مَفعُولٌ بهِ]:
ضَربَ مُحمدٌ زيداً./ كتبَ الرّسالةَ./ أكلتُ التّفاحةَ.
4ـ فِعْلٌ+ فَاعِلٌ+ مَفعُولٌ بهِ أوّل+ [مَفعُولٌ بهِ ثانِ]: (ظنّ وأخواتها):
جَعَل الأستاذُ الدّرسَ سَهلاً./ إتّخذَ الله إبراهيمَ خليلاً.
5ـ فِعْلٌ+ فَاعِلٌ أو مَفعُولٌ بهِ (مُميّز)+ [تمييز]:
طَابَ أحمدُ نفساً./ زَرعتُ الوَردَ في الحديقةِ./ أنا أكثرُ منكَ مالاً./ زَادَ الرّجُلُ عِلماً./ إشتعلَ الرّأسُ شيباً.
6ـ فِعْلٌ+فَاعِلٌ (مُستثنى منهُ) +أداة إستثناء +[مُستثنى]:
جاء الطّلابُ إلاّ نفساً./ ما جاءَ القومُ غيرُ سعيدٍ./ ما قامَ إلاّ زيدٌ.
3. จะต้องสามารถระบุหรือบ่งชี้สภาพของคำนามได้ว่า
“คำๆ นั้นอยู่ในสภาพมัรฟูอฺ, มันศูบ หรือมัจญรูร”
วิธีการพิจารณาเบื้องต้น
- หากเราพบว่าคำใดในประโยคตกอยู่ในสภาพมัรฟูอฺ ให้สันนิษฐานได้เลยว่ามันอาจจะเป็นประธาน(ฟาอิล)
หรือมุบตะดะอฺ (ภาคประธาน)
- หากเราพบว่าคำใดในประโยคตกอยู่ในสภาพมันศูบ ให้สันนิษฐานได้เลยว่ามันอาจจะเป็นหาล (คำขยายกริยา)
หรือไม่ก็เป็นกรรม (มัฟอูลุมบิฮฺ) ของประโยค
- หากเราพบว่าคำใดในประโยคตกอยู่ในสภาพมัจญฺรูร คำๆ นั้นต้องเป็นคำนาม (อิสมุน) หรือมุฎอฟุ
อิลัยฮฺ
** นี่เพียงแค่การพิจารณาขั้นพื้นฐานสำหรับผู้ที่เริ่มเรียนไวยากรณ์ภาษาอาหรับ
ส่วนการศึกษาในระดับสูงนั้น มักจะมีรายละเอียดปลีกย่อยในการศึกษาไวยากรณ์ขั้นสูง
4. ควรนำวิธีการและแนวทางที่ผ่านมาไปประยุกต์ใช้จริงในการพิจารณารูปแบบประโยค
โดยเริ่มต้นจากประโยคง่ายๆ เพื่อฝึกทักษะในเรื่องการบ่งบอกสภาพคำทางไวยากรณ์อาหรับ
5. พยายามคิดประโยคและพิจาณาประโยคด้วยตนเองก่อนเป็นอันดับแรก
หมั่นหาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องดังกล่าว หากมีข้อสงสัยให้พยายามปรึกษาผู้มีความรู้
ซึ่งอาจจะเป็นเพื่อนร่วมห้องหรืออาจารย์ในชั้นเรียนก็ได้ครับ
สุดยอดค่ะ masya allah
ตอบลบขอบคุณครับ
ลบ