ภาษาแห่งอนาคต : ภาษาอาหรับ


กลุ่มประเทศอาหรับ หรือ OIC นอกจากจะเป็นผู้นำด้านทรัพยากร ยังถือเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลด้านวัฒนธรรม และเศรษฐกิจในทุกมุมโลก ภาษาอาหรับจึงกลายเป็นโอกาส และช่องทางการแข่งขันระหว่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายชาวอาหรับที่มีกำลังซื้อสูง

นี่คือหนึ่งในสองชาวอาหรับ ที่ตัดสินใจเลือกประเทศไทยเป็นที่พักรักษาตัว
หลายปีที่ผ่านมา ไทยกลายเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ที่รองรับชาวอาหรับ นอกเหนือจากสร้างผลดีทางเศรษฐกิจ ยังสามารถสร้างโอกาส และหน้าที่การงานให้กับ รังสิกร นักเรียนไทยผู้จบการศึกษาจากซาอุดิอาระเบีย
ภาษาอาหรับ จึงเป็นตัวแปรสำคัญต่อความสำเร็จของการรักษา /รังสิกรบอกว่า เกือบทุกวัน เขาในฐานะล่ามจะออกมาต้อนรับคนไข้ที่นัดหมายล่วงหน้า ขณะที่คนไข้แบบวอร์ค อิน จะมีการประสานงานล่ามอย่างรวดเร็ว ผ่านเคาร์เตอร์ต่างประเทศ งานนี้ท้าทายอย่างมาก
โดยชาวอาหรับที่เดินทางมารักษาตัวในไทยพบว่า เพิ่มขึ้นกว่า 8 เท่าในรอบ 5 ปี และยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง /ขณะที่ตัวเลขโรงพยาบาลที่ได้รับรองมาตรฐาน JCI แล้ว 23 แห่ง ทำให้ความเชื่อมั่นต่อสาธารณสุขไทยเติบโตมาก ภาษาอาหรับจึงเป็นฟันเฟืองสำคัญของความสำเร็จนี้
ล่าสุดไทยยกเว้นวีซ่า 6 ประเทศอาหรับ และเปิดให้ผู้ที่ต้องการเดินทางเข้าไทย สามารถนำผู้ติดตามมาได้ไม่เกิน 4 คน และพำนักพร้อมกัน 90 วัน ยิ่งทำให้ภาคเอกชน แข่งขันเรื่องคุณภาพการรักษาพยาบาลมากขึ้น วันนี้เราจึงเห็นคนรุ่นใหม่ที่ไม่ใช่มุสลิมเริ่มเรียนภาษาอาหรับกันมากขึ้น
แม้ภาษาอาหรับ จะมีประชากรโลกใช้เพียง 2 ร้อยกว่าล้านคน แต่ก็พบว่า กลุ่มคนเหล่านี้ถือเป็นกลุ่มอิทธิพลทางเศรษฐกิจ การค้า และวัฒนธรรม เชื่อมร้อยกันทุกมุมโลก การเรียนภาษาอาหรับของธนวัฒน์จึงไม่เพียงตอบโจทย์โอกาสที่มี แต่ยังเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจที่เขาบอกว่าอาหรับ เป็นสิ่งที่มีเสน่ห์ และทำให้เราเข้าใจมุสลิมมากขึ้น

ที่มา : http://www.voicetv.co.th


แสดงความคิดเห็น (0)
ใหม่กว่า เก่ากว่า