ประเภทของคำนามในภาษาอาหรับ

คำนามในภาษาอาหรับอาจจะแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ นั่นก็คือคือ...


คำนามนะกิเราะฮฺ หรือคำนามไม่จำเฉพาะเจาะจง (اسم النكرة) คือ คำนามที่ชี้ไปยังสิ่งใด ซึ่งไม่ระบุแน่ชัดถึงคำนามนั้นๆ  โดยเครื่องหมายที่สังเกตได้ถึงคำนามประเภทนี้ คือ สระท้ายคำเป็นตันวีน (สระซ้อน) และไม่มีอะลิฟลามนำหน้าคำนาม

คำนามมะอฺริฟะฮฺ หรือคำนามจำเฉพาะเจาะจง (اسم المعرفة)  คือ คำนามที่ชี้ไปยังสิ่งใด ซึ่งระบุอย่างแน่ชัดแน่ชัดถึงคำนามนั้นๆ คำนามข้างต้นประกอบด้วย 7 ประเภทย่อย ดังนี้
  1. คำสรรพนาม  (الضمير)  เช่น  هو ، أنا ، أنت  เป็นต้น
  2. ชื่อเฉพาะ  (العلم)  เช่น  ُمحمَّدٌ ،  مكّة ، أحمد  เป็นต้น
  3. คำนามชี้เฉพาะ  (اسم الإشارة)  ได้แก่  هذا ، هذه ، ذلك ، تلك ، هؤلاء  เป็นต้น
  4. ประพันธ์สรรพนาม (اسم الموصول) คือสรรพนามที่ใช้แทนนามที่อยู่ข้างหน้า เเละในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เชื่อมประโยคหน้าเเละหลังให้สัมพันธ์กัน  เช่น  الذي ، التي ، اللاتي  ، الذين  เป็นต้น 
  5. คำนามที่มี  ال  นำหน้า  เช่น  الكتابُ ، المكتبةُ ،  الملابسُ  เป็นต้น
  6. คำนามที่บ่งบอกถึงควมเป็นเจ้าของ  (المضاف إلى معرفة)  เช่น   كتابُهُ ،  كتابُ حامدِ ، بيتً مدرّس ، سيارتِي  เป็นต้น
  7. คำนามที่ตกหลัง حرف النداء  เช่น  يا شيخُ  ،  يارجلُ  เป็นต้น


แสดงความคิดเห็น (0)
ใหม่กว่า เก่ากว่า