คำนามเฉพาะเจาะจง (المعرفة ) ในภาษาอาหรับ

คำนามเฉพาะเจาะจง (المعرفة : The definite noun)  หมายถึงคำนามที่ถูกระบุถึงโดยเฉพะเจาะจง  เช่น الرَّجُلُ  ผู้ชายคนนั้น, الجَامِعَةُ  มหาวิทยาลัยแห่งนั้น เป็นต้น  นอกจากนี้ยังมีคำนามอีกประเภทหนึ่งที่ตรงข้ามกับคำนามประเภทนี้ คือ คำนามไม่เฉพาะเจาะจง (النكرة : The common noun) คือคำนามที่ถูกระบุถึงโดยไม่เฉพะเจาะจง เช่น رَجُلٌ  ผู้ชายคนหนึ่ง,  جَامِعَةٌ  มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง  เป็นต้น   เชื่อเหลือเกินว่าหลายคนมักแยกแยะเรื่องทั้งสองนี้ด้วยกฎง่ายๆ คือนะกีเราะฮฺคือคำนามที่มี อะลิฟลาม ส่วนมะอฺริฟะฮฺก็คือคำนามที่ไม่มีอะลิฟลาม เเต่กฎเกณฑ์ของเรื่องดังกล่าวนี้มีมากกว่าที่คุณคิด  ...


ในบทความนี้ขอกล่าวถึงคำนามประเภทเเรกคือ คำนามเฉพาะเจาะจง (المعرفة : The definite noun)  คำนามประเภทนี้จะแบ่งออกเป็น 7 ชนิด  คือ
  1. คำสรรพนาม  (الضمير)  เช่น  هو ، أنا ، أنت  เป็นต้น
  2. ชื่อเฉพาะ  (العلم)  เช่น  محمد ،  مكة ، أحمد  เป็นต้น
  3. คำนามชี้เฉพาะ  (إسم الإشارة)  ได้แก่  هذا ، هذه ، ذلك ، تلك ، هؤلاء  เป็นต้น
  4. ประพันธ์สรรพนาม (إسم الموصول) คือสรรพนามที่ใช้แทนนามที่อยู่ข้างหน้า เเละในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เชื่อมประโยคหน้าเเละหลังให้สัมพันธ์กัน  เช่น  الذي ، التي ، اللاتي  ، الذين  เป็นต้น 
  5. คำนามที่มี  ال  นำหน้า  เช่น  الكتابُ ، المكتبةُ ،  الملابسُ  เป็นต้น
  6. คำนามที่บ่งบอกถึงควมเป็นเจ้าของ  (المضاف إلى معرفة)  เช่น   كتابُهُ ،  كتابُ حامدِ ، بيتً مدرّس ، سيارتِي  เป็นต้น
  7. คำนามที่ตกหลัง حرف النداء  เช่น  يا شيخُ  ،  يارجلُ  เป็นต้น

แสดงความคิดเห็น (0)
ใหม่กว่า เก่ากว่า