ประธาน และภาคแสดงของประธาน المبتدأُ وَالخبر

المبتدأ والخبر จัดว่าเป็นรูปแบบประโยคที่เริ่มต้นด้วยคำนาม หรือเรียกเป็นภาษาอาหรับว่า الجمل الإسمية ก่อนอื่นเรามาดูตัวอย่างประโยคเกี่ยวกับเรื่องนี้กันก่อนครับ...

اَلْفَصْلُ وَاسٍعٌ
الرَّيَاضَةُ مُفِيْدَةٌ
العِلْمُ نَافِعٌ

เราะเห็นได้ว่าประโยคแรกเริ่มต้นด้วย الفَصْلُ ซึ่งคำดังกล่าวเป็นคำนามที่เฉพาะเจาะจง (معرفة) คือเป็นคำนามทั่วไปที่มีอะลิฟลาม และตัวอย่างที่ 2,3 ก็เช่นเดียวกันล้วนแล้วแต่เริ่มต้นด้วยคำนามที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งคำนามที่เริ่มต้นประโยคทั้ง 3 คำนี้เรียกว่า المبتدأ (ภาคประธาน) ส่วนคำที่สองของทุกประโยคถือว่าเป็นคำนามเช่นเดียวกัน แต่ถ้าเราสังเกตจะพบว่าคำนามเหล่านั้นจะไม่มีอะลิฟลามเหมือนคำที่เริ่มต้นประโยค หรือเราอาจจะเรียกคำนามประเภทนี้เป็นคำนามที่ไม่เฉพาะเจาะจง (نكرة) ทำหน้าที่เป็น الخبر (ภาคแสดง) ของประโยคซึ่งมาขยายประโยคให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น...

ส่วนการลงสระท้ายของคำเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับหลักทางไวยากรณ์ภาษาอาหรับ เราจะสังเกตเห็นว่าคำที่ทำหน้าที่เป็นภาคประธาน และภาคแสดงในทุกประโยค จะอ่านพยัญชนะท้ายคำด้วยสระฎ็มมะฮฺเป็นเครื่องหมายร็อฟอฺ เพราะคำทั้งสองเป็นคำนามเอกพจน์ทั้งสิ้น  เเต่หากทั้งสองส่วนอยู่ในรูปของคำนามทวิพจน์ ก็ให้อ่านร็อฟอฺด้วยอะลิฟ และหากคำนามทั้งสองส่วนอยู่ในรูปพหูพจน์เพศชาย ก็ให้อ่านสระท้ายด้วยวาว  ตัวอย่างประโยค เช่น 


  กรณีทวิพจน์  الوَلَدَانِ صَغِيْرَانِ  
  กรณีพหูพจน์เพศชาย  المُؤْمِنُونَ شَاكِرُونَ

*ตัวอย่างประโยคที่ยกมาให้ดู ทั้งสองส่วน คือ "มุบตาดะอฺและคอบัร" ล้วนเเล้วอยู่ในสภาพร็อฟอฺทั้งสิ้น  เพื่อความกระจ่างเรามาดูวิดีโอประกอบการเรียนรู้ในเรื่องนี้กันเลย...



แสดงความคิดเห็น (0)
ใหม่กว่า เก่ากว่า