เครื่องหมายต่างๆ ที่ใช้ในภาษาอาหรับ (علامة الترقيم)


1. อัลฟาศิละฮฺ(الفاصلة)  เครื่องหมายจุลภาค   (أوضع بين الجمل المتكاملة في المعنى )ใช้เชื่อมประโยคที่มีความสมบูรณ์ในความหมาย  โดยใช้กับกรณีต่อไปนี้
-         หลังคำนามเรียกโอ้  (بعد لفظ المنادي) เช่น
يا ينيَّ ، ابتعد عن الأصدقاء السوء.
โอ้ลูกรัก, จงหลีกห่างเพื่อนๆ ที่ไม่ดี.
-         หลังคำว่า  نعم ، لا
لا ، الجوّ ليس ماطرًا.
ไม่นะ, ฝนไม่ได้ตก.
نعم ، العربية ممتعة.
ใช่, ภาษาอาหรับนั้นสนุก.
-         หลังประโยคยาวๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์ในนัยความหมาย(أوضع بعد الجمل القصيرة)
قلب المؤمن طاهر ، ولايعرف الحِقدَ.
หัวใจของศรัทธาชนนั้นสะอาดบริสุทธิ์, และไม่รู้จักกับความเคียดแค้น.
-         เขียนระหว่างการยกตัวอย่างประเภทแยกย่อยของสิ่งหนึ่งสิ่งใด(أوضعبين أنواع الشيء وأقسامه)เช่น
أنواع الفعل ثلاثة : ماضٍ، مضارعٍ، أمرٍ.
คำกริยามี3 ประเภท  ได้แก่  อดีตกาล, ปัจจุบัน, อนาคต.
2. อัลนุกเฎาะฮฺ(النقظة)  หรือมหัพภาค  ใช้เมื่อเสร็จสิ้นประโยค  ซึ่งประโยคนั้นจะต้องมีความสมบูรณ์ในเรื่องของความหมาย   (أوضعفي نهاية كلّ جملة تمّ معناها وهي علامة الوقف التّامّ)เช่น
كان العرب في الجاهلية يئدون بناتهم خوفًا من العَارِ والفَقْر.
ในสมัยก่อนอิสลามชาวอาหรับ..... ลูกสาวของพวกเขา เนื่องจากความอัปยศอดสู และกลัวความจน.
الإسلام يدعو إلى إكرام الضيف.
อิสลามส่งเสริมการให้เกียรติต่อแขกผู้มาเยือน.

3. อัลนุกเฎาะตาน  (النقطتان)หรือทวิภาค   ใช้ในกรณีต่อไปนี้
-        หลังคำพูด  (أوضعبعد القول)เช่น
قال محمد : السلام عليكم.
มูฮัมหมัดกล่าวว่า ความสันติจงมีแด่ท่าน.
قال رسول الله : ( المؤمن كالبنيان المرصوص يشدًّه بعضه بعضًا).
ท่านศาสนทูตกล่าวว่า  :  (เปรียบประดุจศรัทธาชนดั่งอาคารที่ทุกส่วนต่างยึดโยงกันอย่างแน่นหนา).
-        ขั้นกลางระหว่างการแจกแจงประเภทของสิ่งหนึ่งสิ่งใด  (أوضعبين الشيئ ، وأنواعه)เช่น
فصول السنة أربعة : صيفٌ، خريف، شتاءٌ، ربيعٌ.
ในหนึ่งปีมี 4  ฤดูกาล  ได้แก่  ฤดูร้อน, ฤดูใบไม้ร่วง, ฤดูหนาว, ฤดูใบไม้ผลิ.

4. อัลฟาศิละฮฺอัลมันกูเฏาะฮฺ(الفاصلة المنقوطة)หรือเครื่องหมายอัฒภาค  ใช้ขั้นระหว่างสองประโยค  ซึ่งประโยคหนึ่งบอกถึงสาเหตุหรือผลอื่นๆ (أوضعبين جملتين إحداهما سببٌ أو نتيجة للأخرى)เช่น
نصلِّي ؛ ليكسب رضا الله.
พวกเราละหมาด เพื่อหวังความพอพระทัยจากอัลลอฮฺ
مارس الرياضةَ ؛ لأن العقل السليم في الجسم السليم.
เขาออกกำลังกาย เพราะว่าสติปัญญาที่ดีย่อมอยู่คู่กับร่างกายที่ดี.
العلم طريقنا نحو الرُّقي؛ لذا احرص على طلب العلم.
ความรู้คือวิถีทางไปสู่ความก้าวหน้าของเรา  ด้วยเหตุนี้จงฉวยโอกาสในการแสวงหา.

5. อะลามะฮฺอัลอิสติฟฮาม  (علامة الاستفهام)  หรือปรัศนี  ใช้ในการตั้งคำถาม  (أوضعبعد السؤال)  เช่น
ماذا اشتريت اليومَ ؟
วันนี้คุณซื้ออะไรไปแล้วบ้าง ?
هل كتبت واجباتك ؟
คุณได้ทำการบ้างยัง ?
كيف تختار أصدقائك ؟
คุณเลือกคบเพื่อนอย่างไร ?

6. อะลามะฮฺ อัตตะอัจญุบ(علامة التعجّب) หรืออัศเจรีย์ ใช้หลังคำพูดที่แสดงความประหลาดใจ  น่าทึ่ง น่าพิศวง  หรือตะลึงในสิ่งที่พบเห็น (أوضعبعد التعجب والدهشة)
ما أجمل الربيعَ !
ฤดูใบไม้ผลิช่างสวยงามอะไรเช่นนี้ !
ما أطول ليل المريض !
ค่ำคืนของการเจ็บป่วย มันช่างยาวนานอะไรเช่นนี้  !
ما أشدَّ اصطراب الأمواج !
เคลื่อนทะเลซัดแรงอะไรเช่นนี้ !

แบบฝึกหัด

كانت سعاد تبجث في المكتبة عن القصة   فقرأت أمينة المكتبة   فقالت لها   أين أجد فرع القصص   فردّدت الأمينة قائلةً  إنها في الرفّ السفليّ   



ใหม่กว่า เก่ากว่า