คำนามเฉพาะเจาะจง คำนามไม่เจาะจง และสัมพันธการกในภาษาอาหรับ

        ในภาษาอาหรับเราอาจจำแนกคำนามออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ นั่นก็คือ คำนามเจาะจง และคำนามไม่เจาะจง

        1. คำนามไม่เจาะจงหรือที่เรียกในภาษาอาหรับว่า อิสมุน นากิเราะห์ (اسم النكرة) คือ คำนามที่ใช้เรียกสิ่งหนึ่งใดสิ่งหนึ่งโดยไม่เจาะจงตายตัว โดยผู้ใช้เรียกอาจไม่รู้ว่าเป็นสิ่งไหน อันไหน หรือคนไหน?

        2. คำนามเจาะจงหรือที่เรียกในภาษาอาหรับว่า อิสมุน มะอฺริฟะห์ (اسم المعرفة) คือ คำนามที่ใช้เรียกสิ่งที่เจาะจงตายตัว ซึ่งคำนามดังกล่าวอาจรวมไปถึงคำนามสัมพันธการก (الإضافة) เป็นคำนามที่บ่งบอกความเป็นเจ้าของ  

เราลองมาดูข้อแตกต่างของคำนามทั้ง 2 ประเภทนี้จากตัวอย่างต่างๆ กันครับ 



        เราจะสังเกตเห็นว่าคำนามส่วนใหญ่ที่มี อะลิฟ-ลาม นำหน้าคำล้วนเป็นคำนามเจาะจง (اسم المعرفة) เช่น  الرجل ، البلد ، القطار ، القط  آلخ   และยังมีคำนามเจาะจงอีกประเภทหนึ่ง คือ คำนามอิฎอฟะห์ (สัมพันธการก) เป็นคำนามที่บ่งบอกถึงความเป็นเจ้าของนั่นเอง เช่น كتاب التاريخ ، كتابي  ، غرفة النوم  เป็นต้น  นอกจากนั้นเเล้วยังมีคำนามชื่อที่เจาะจงแน่นอนถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น นายมูฮัมหมัด, พ่อของนายอะลิฟ, แบกแดก (ชื่อเมืองหลวงประเทศอิรัก) เป็นต้น 

       

แสดงความคิดเห็น (0)
ใหม่กว่า เก่ากว่า