
ภาษาอาหรับจำแนกคำนามออกเป็น 2 ประเภท นั่นก็คือ คำนามเพศชาย (مذكر) และคำนามเพศหญิง (مؤنث) ซึ่งมีวิธีจำแนกด้วยหลักการจำและการสังเกต ดังนี้
ลักษณะของคำนามเพศชาย
ลักษณะของคำนามเพศหญิง
ลักษณะของคำนามเพศชาย
- เป็นคำนามที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่าเป็นพศชาย หรือที่เรียกว่าเป็นภาษาอาหรับ “อิสมุน อะลัม” เช่น حسن (หะซัน), أبو قاسم (อบู กอเซ็ม), كيتئ (กิตติ), سومشاي (สมชาย) เป็นต้น
- เป็นคำนามที่บ่งบอกถึงเพศชายโดยชัดเจนในตัวของมัน เช่น أمير (พระมหากษัตริย์), رجل (ผู้ชาย) เป็นต้น
- เป็นคำนามที่ชาวอาหรับกำหนดว่าเป็นเพศชายมาตั้งแต่เดิมอยู่แล้ว เช่น كتاب (หนังสือ), حصان (ม้า), دين (ศาสนา) เป็นต้น
ลักษณะของคำนามเพศหญิง
- เป็นคำนามที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่าเป็นพศหญิง หรือที่เรียกว่าเป็นภาษาอาหรับ “อิสมุน อะลัม” เช่น فاطمة (ฟาติมะห์), امرأة (ผู้หญิง), بنت (ลูกสาว), برامسودا (เปรมสุดา) เป็นต้น
- เป็นคำนามที่เป็นเพศหญิงโดยธรรมชาติอยู่แล้ว เช่น مكلة (กษัตรี) เป็นต้น
- เป็นคำนามที่สามารถแปลงสภาพคำเป็นเพศหญิงและเพศชายได้ในตัว เช่น طالبة นักเรียนหญิง, بطة (เป็ดตัวเมีย) เป็นต้น
- เป็นคำนามที่ชาวอาหรับกำหนดว่าเป็นเพศหญิงมาตั้งแต่เดิมอยุ่แล้ว เช่น ورقة (ใบไม้), فرس (ม้า), عقيدة (ความเชื่อ), حرب (สงคราม) เป็นต้น
- เป็นคำนามที่ลงท้ายด้วยตาอฺมัรบูเฏาะฮฺ (อักษรตากลม) เช่น فاطمة (ฟาติมะห์) خديجة (คอดีญะห์) جميلة (ญะมีละห์) ฯลฯ
- อะลิฟ มันศูเราะฮฺ (เสียงอักษรอะลิฟในร่างญาอฺ) เช่น سلمى (ซัลมา) ليلى (ไลลา) هدى (ฮุดา) ฯลฯ
- และอะลิฟ มัมดูดะฮฺ (อักษรอะลิฟและฮัมซะฮฺ) เช่น الصحراء (ทะเลทราย), حمراء (สีแดง) และสีอื่นๆในรูปคำท้ายอะลิฟ มัมดูดะห์เพศหญิง ฯลฯ