มุบตะดะอ์
คือคำนามที่ทำหน้าเป็นประธานของประโยคมักจะขึ้นต้นประโยค เเต่ไม่เสมอไป
ส่วน คอบัร คือ
คำนามที่ทำหน้าที่ขยายประธานให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น หรือเป็นส่วนที่จะมาอธิบายลักษณะของมุบตะดะอ์ให้ชัดเจนยิ่งขึ้นนั่นเอง...
เรามาดูตัวอย่างกันเลยครับ :-
اَلطَّقْسُ حَارٌّ อากาศนั้นร้อน
الطقس : مبتدأ
حارّ : خبر
หลักการสังเกตมุบตะดะอ์
1. เป็นคำนามเฉพาะเจาะจง ( معرفةมีอะลิฟลาม) อาจจะมาในรูปของคำนามทั่วไปหรือเป็นคำนามในลักษณะอื่น เช่น
คำบุพบท, คำสรรพนาม เป็นต้น
2. ลงสระท้ายด้วยกับฎ็อมมะฮฺ ในกรณีที่เป็นคำนามทั่วไป หรือคำนามชื่อคน
เช่น أحمدُ مجتهِدٌ ، محمدُ جالسٌ เป็นต้น
3. มักจะเริ่มต้นประโยค เเต่ไม่เสมอไป
ส่วนคอบัร มักจะเป็นคำนามที่ไม่เฉพาะเจาะจง (نكرة : ไม่มีอะลิฟลาม) ลงสระท้ายด้วยกับฎ็มมะฮฺตันวีน
มักตามหลังมุบตะดะอ์ เเต่ไม่เสมอไป