10 เคล็ดลับในการเรียนภาษาอาหรับ

1- สร้างแรงจูงใจในการเรียน พูดกันแบบง่ายๆ คือ ต้องมีใจรัก หรือชอบในการเรียนภาษาก่อนเป็นอันดับแรก ตอบคำถามตัวเองให้ได้ว่าเรียนไป "ทำไม ?" เพราะนี่คือการสร้างแรงจูงใจที่ดีในการเรียนชั้นดีเลยทีเดียว
2- ห้องเรียน คือ คุมคลังแห่งความเข้าใจ การเข้าห้องเรียนอย่างสม่ำเสมอ เเละตั้งใจแลกเชอร์ ช็อทโน๊ท และหมั่นทบทวนเนื้อหาสำคัญอยู่อย่างสม่ำเสมอ โดยการอาจจะแยกแต่ละบท หรือเป็นเรื่องๆ จะช่วยให้เราเข้าใจบทเรียนได้อย่างละเอียด แม่นยำมากเลยทีเดียว อีกทั้งเรายังได้เปรียบในเนื้อหาสาระที่อาจจะไม่ได้เจอในห้องเรียนหรือในหนังสือเรียนจากอาจารย์ผู้สอน

3- สมุดศัพท์ช่วยจำ  เป็นวิธีการที่ผมเคยทำในช่วงมัธยมปลาย และช่วงต้นในการเรียนระดับมหาวิทยาลัย เป็นวิธีการที่จะช่วยเราในการรวบรวมศัพท์ที่เคยเรียนมาอย่างเป็นระบบระเบียบ จะช่วยให้ง่ายในการค้นหา เเละท่องจำ  อาจจะสร้างสมุดศัพท์ในรูปแบบของสมุดโน๊ทเล็กๆ หรือตัดเล็มขอบแบบขั้นบันไดแยกหมวดหมู่ตามอักษรตามใจชอบ 

4- หมั่นท่องจำสำนวนคำพูดในภาษาอาหรับ (أسلوب ج أساليب)   ไว้เป็นคลังใช้ในการพูดคุยสนทนาเป็นภาษาอาหรับ เช่น لا شكرَ على الواجبِ : ไม่เป็นไร มันเป็นหน้าที่, شكرًا على دعوتكم : ขอบคุณสำหรับคำเชิญ,  الحمدلله على عودتك سالمًا : ขอบคุณพระเจ้าที่คุณกลับมาได้อย่างปลอดภัย, أنا سعيد بمعرفتك : ฉันดีใจที่ได้รู้จักกับคุณ, أسعد الله صباحكم بكل خير : ขอให้เช้าของคุณ เป็นเช้าแห่งความสุข  เป็นต้น

5- การตั้งคำถาม หากเกิดความไม่เข้าใจในเนื้อหาส่วนใด ให้ถามอาจารย์โดยทันที หรือไม่ก็ให้ทำเครื่องมหายไว้เพื่อสอบถามอาจารย์ภายหลัง เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างกระจ่างชัด ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้เราจำปัญหาที่เกิดขึ้นได้แม่นยำ เพราะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเองโดยตรงนั่นเองครับ

6- วงเพื่อนช่วยสอน หรือที่ผมเรียกว่า "มุนากอชะห์ : مناقشة" เป็นการนัดพูดกันเกี่ยวกับบทเรียน หรือการนัดพบกันเพื่อนแชร์ความรู้ในส่วนที่ขาดตกบกพร่องนั่นเองครับ ส่วนใหญ่อาจจะเป็นช่วงใกล้สอบ เเต่ถ้าให้ดีควรจัดเป็นรอบสัปดาห์หรือรอบเดือนละ 1 ครั้ง  อาจจะตั้งผู้ที่รับผิดชอบหลักในการพูดคุยไว้ด้วย เพื่อสอนและเปิด-ปิดวงสนทนานั่นเอง

7- ใกล้ชิดกับอาจารย์ผู้สอน หรือเรียกกันแบบง่ายๆ ว่า "ทำตัวตีสนิทอาจารย์" ข้อนี้เป็นเคล็ดลับการเรียนที่ได้ผลมากๆ สำหรับคนที่ใกล้ชิดอาจารย์จะเป็นคนที่ได้เปรียบมากกว่าเพื่อนๆ คนอื่น เพราะนั่นหมายถึงเขาอาจจะได้รับความไว้ใจจากอาจารย์มากกว่าใคร  เเต่มีข้อแม้ว่า "ต้องไม่มากจนเกินไป" นะครับ

8- สร้างห้องสมุดส่วนตัว เพื่อเป็นแหล่งสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม หรือเพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงสำหรับการเรียนในห้องเรียน ห้องสมุดส่วนตัวอาจหมายถึงเว็บไซต์หนังสือออนไลน์, เว็บไซต์ห้องสมุดหรือเว็บบล็อกเกี่ยวกับหนังสือภาษาอาหรับ หมั่นค้นหา ดาวน์โหลดไฟล์หนังสือจากแหล่งต่างๆ เหล่านี้อยู่บ่อยๆ เเละจะต้องเริ่มต้นสร้างนิสัยรักการอ่านให้กับตัวเอง ฝึกฝจนติดเป็นนิสัย  เเต่วิธีการนี้อาจจะค่อนข้างไม่ได้ผลสำหรับบางคน  เเละวิธีการที่ได้ผลดีที่สุด คือ การซื้อหนังสือที่สามารถจับต้องได้จริงๆ มาอ่าน หรืออาจจะปริ้นหนังสือจากไฟล์หนังสือที่เราโหลดมาก็ได้ครับ


9- ค้นหาช่องทางใหม่ๆ ในการเรียนภาษาอาหรับ เช่น การเข้าไปกดไลเพจเฟสบุกที่เกี่ยวข้องกับการเรียนภาษาอาหรับ, การสร้างสื่อภาษาอาหรับ, เข้าไปศึกษาในเว็บไซต์บริการวิชาการด้านภาษาอาหรับของมหาลัยหรือเว็บไซต์อื่นๆ โดยตั้งโฮมเพจเหล่านั้นเป็นบุ๊คมาร์คไว้ในตัวเบราเซอร์กันลืมไว้ด้วย, การเข้าร่วมกลุ่มเฟสบุกที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาอาหรับ, การสร้างพื้นที่ออนไลน์ให้กับตัวเอง เช่น การเปิดเพจเฟสบุกสอนภาษาอาหรับ, การสร้างเว็บไซต์ และบล็อก  เป็นต้น
10- สร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับตนเอง การสร้างโอกาสในที่นี้มี 2 ระยะด้วยกัน นั่นก็คือ  1. การสร้างโอกาสในขณะศึกษาอยู่  หากมีทุนหรือกิจกรรมแลกเปลี่ยนทางภาษาระหว่างมหาวิทยาลัย ก็ควรรีบฉกฉวยโอกาสนั้นให้อยู่หมัด หรือการสมัครงานเพื่อฝึกงานในองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับภาษาอาหรับ และ 2. การสร้างโอกาสหลังจากจบการศึกษาในระดับใดระดับหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นระดับซานาวีย์ หรือระดับอุดมศึกษาก็ตาม  โดยการค้นหาทุนเรียนต่อในต่างประเทศ  ซึ่งทางการจะประกาศทุนต่างๆ เหล่านี้ออกมาในทุกๆ ปี เพื่อเป็นการต่อยอดและพัฒนาทักษะด้านภาษาของเราให้เข้มเเข็งยิ่งขึ้นในอนาคต  ((จบ))

แสดงความคิดเห็น (0)
ใหม่กว่า เก่ากว่า